Pages

Sunday, August 23, 2020

'เรือดำน้ำ'หลายประเทศอาเซียนมี 'ไทย'ถึงจำเป็นแต่เศรษฐกิจไม่ดีควรซื้อหรือไม่? - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

selasartari.blogspot.com

วันอาทิตย์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 20.36 น.

กลายเป็นเรื่องใหญ่โตเมื่อกองทัพเรือยังคงเดินหน้าจัดหาเรือดำน้ำ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ปี 2564 ได้พิจารณาอนุมัติงบจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน ของกองทัพเรือ จำนวน 2 ลำ วงเงิน 22,500 ล้านบาท

ประเด็นนี้นำมาซึ่งกระแสต่อต้านมากมายทั้งจากฝ่ายค้านและแม้กระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลเองก็ตาม ยังไม่นับการนำไปปลุกกระแสโจมตีการบริหารของรัฐบาลของกลุ่มผู้ชุมนุม ที่เป็นเช่นนั้นเพราะปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 หลายฝ่ายเห็นว่าควรนำงบประมาณไปฟื้นฟูเศรษฐกิจก่อนดีกว่า อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือนั้นมีมุมมองห่วงใยความมั่นคงทางทะเล ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าไทยมีผลประโยชน์ในส่วนนี้อยู่ไม่น้อย

เว็บไซต์ Global Firepower ซึ่งเป็นเว็บไซต์จัดอันดับแสนยานภาพทางการทหารระดับนานาชาติ ในปี 2563 นี้ได้เผยแพร่รายงาน 2020 Military Strength Ranking โดยมีประเทศเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 138 ประเทศ โดยการจัดอันดับเฉพาะในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่มีสมาชิกทั้งสิ้น 10 ประเทศ มีดังนี้ อันดับ 1 อินโดนีเซีย (อันดับ 16 โลก) มีเรือดำน้ำ 5 ลำ อันดับ 2 เวียดนาม (อันดับ 22 โลก) มีเรือดำน้ำ 6 ลำ

อันดับ 3 ไทย (อันดับ 23 โลก) ไม่มีเรือดำน้ำ อันดับ 4 เมียนมา (อันดับ 35 โลก) มีเรือดำน้ำ 1 ลำ อันดับ 5 มาเลเซีย (อันดับ 44 โลก) มีเรือดำน้ำ 2 ลำ อันดับ 6 ฟิลิปปินส์ (อันดับ 48 โลก) ไม่มีเรือดำน้ำ อันดับ 7 สิงคโปร์ (อันดับ 51 โลก) ไม่มีเรือดำน้ำ อันดับ 8 กัมพูชา (อันดับ 107 โลก) ไม่มีเรือดำน้ำ อันดับ 9 ลาว (อันดับ 131 โลก) ไม่มีเรือดำน้ำ ส่วนบรูไน ไม่ได้เข้าร่วมการจัดอันดับ

ขณะที่ 10 ประเทศที่มีแสนยานุภาพทางการทหารสูงที่สุดในโลก พบว่า อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา มีเรือดำน้ำ 66 ลำ อันดับ 2 รัสเซีย มีเรือดำน้ำ 62 ลำ อันดับ 3 จีน มีเรือดำน้ำ 74 ลำ อันดับ 4 อินเดีย มีเรือดำน้ำ 16 ลำ อันดับ 5 ญี่ปุ่น มีเรือดำน้ำ 20 ลำ อันดับ 6 เกาหลีใต้ มีเรือดำน้ำ 22 ลำ อันดับ 7 ฝรั่งเศส มีเรือดำน้ำ 9 ลำ อันดับ 8 สหราชอาณาจักร มีเรือดำน้ำ 10 ลำ อันดับ 9 อียิปต์ มีเรือดำน้ำ 8 ลำ และอันดับ 10 บราซิล มีเรือดำน้ำ 6 ลำ

ส่วน 10 ประเทศที่มีเรือดำน้ำมากที่สุดในโลก อันดับ 1 เกาหลีเหนือ (อันดับ 25 โลก) มีเรือดำน้ำ 83 ลำ อันดับ 2 จีน (อันดับ 3 โลก) มีเรือดำน้ำ 74 ลำ อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา (อันดับ 1 โลก) มีเรือดำน้ำ 66 ลำ อันดับ 4 รัสเซีย (อันดับ 2 โลก) มีเรือดำน้ำ 62 ลำ อันดับ 5 อิหร่าน (อันดับ 14 โลก) มีเรือดำน้ำ 34 ลำ อันดับ 6 เกาหลีใต้ (อันดับ 6 โลก) มีเรือดำน้ำ 22 ลำ อันดับ 7 ญี่ปุ่น (อันดับ 5 โลก) มีเรือดำน้ำ 20 ลำ อันดับ 8 อินเดีย (อันดับ 4 โลก) มีเรือดำน้ำ 16 ลำ อันดับ 9 ตุรกี (อันดับ 11 โลก) มีเรือดำน้ำ 12 ลำ และอันดับ 10 โคลัมเบีย (อันดับ 37 โลก) มีเรือดำน้ำ 11 ลำ

สำหรับการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยต้องบอกว่าเป็นมหากาพย์เพราะยาวนานมาถึง 10 ปี โดยเริ่มมีข่าวตั้งแต่ปี 2554 ช่วงท้ายของรัฐบาลที่มี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่าจะมีการซื้อเรือดำน้ำรุ่น U-206A ซึ่งเป็นเรือมือสองจากประเทศเยอรมนี จำนวน 6 ลำ แต่ท้ายที่สุดโครงการนี้ก็ยังไม่คืบหน้า หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความคุ้มค่า เพราะใช้ได้จริง 4 ลำ ส่วนอีก 2 ลำจะถูกใช้เป็นอะไหล่สำรอง 
ในปี 2554 เช่นกัน เมื่อมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งและได้นายกฯ เป็นผู้หญิงคนแรกคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต เป็น รมว.กลาโหม โครงการเรือดำน้ำเยอรมนีข้างต้นก็ไม่คืบหน้า และท้ายที่สุดก็ต้องปล่อยให้หลุดมือไปเพราะเกินกำหนดเวลาในการเจรจากับรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งต่อมามีรายงานว่า กองทัพเรือโคลัมเบียได้ซื้อเรือดำน้ำดังกล่าวไป 4 ลำ แบ่งเป็นเรือใช้งาน 2 ลำ และเป็นอะไหล่อีก 2 ลำ

ครั้นมีเหตุความวุ่นวายทางการเมือง มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม กปปส. ที่ยืดเยื้อแม้ ยิ่งลักษณ์ จะประกาศยุบสภาไปแล้วก็ตาม ทำให้ท้ายที่สุดจบลงด้วยการรัฐประหารโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ซึ่งหลังจากนั้น รัฐบาลทหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีหัวหน้า คสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ และ พล.อ.ประวิตร กลับมาเป็น รมว. กลาโหม อีกครั้ง ในปี 2558 เริ่มมีข่าวว่า กองทัพเรือต้องการจัดซื้อเรือดำน้ำรุ่น S-26T จำนวน 3 ลำ จากประเทศจีน

ในวันที่ 18 เม.ย. 2560 รัฐบาลไทยได้สั่งซื้อเรือเรือดำน้ำ S-26T จากจีนจำนวน 1 ลำ วงเงิน 13,500 บาท คาดว่าจะได้รับเรือลำดังกล่าวในปี 2567 และล่าสุดวันที่ 21 ส.ค. 2563 ได้อนุมัติวงเงินอีก 22,500 ล้านบาทสำหรับอีก 2 ลำ ซึ่ง ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ครุภัณฑ์ฯ มองว่า บันทึกความตกลง (MOU) ที่รัฐบาลไทยทำกับรัฐบาลจีน ไม่ได้ระบุว่าไทยจะต้องซื้อลำที่สองและลำที่สาม มีแต่เพียงว่าหากเกิดปัญหาในข้อตกลง หรือเกิดความขัดแย้งให้เจรจากันอย่างฉันท์มิตร ไม่มีการขึ้นศาลหรือคดีต่อกัน

ล่าสุด ในวันที่ 24 ส.ค.2563 มีรายงานว่า กองทัพเรือจะแถลงข่าวชี้แจงในเวลา 13.30 น.ที่ห้องชมวัง อาคารราชนาวิกสภา ทั้งประเด็นความจำเป็นในเชิงยุทธศาสตร์ การจัดสรรงบประมาณของกองทัพเรือเอง โดยเลื่อนโครงการจัดหาเรือผิวน้ำโครงการจัดหาอากาศยานแล้วนำมาผูกพันงบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำ พร้อมทั้งเรื่องเอกสารข้อกฎหมายในการทำสัญญาแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) อำนาจของ ผบ.ทร.ในการลงนาม

ท้ายที่สุดแล้วกองทัพเรือจะได้จัดซื้อเรือดำน้ำอีก 2 ลำ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่..คงต้องรอดูกันต่อไป!!!

ขอบคุณข้อมูลจาก : globalfirepower.com

Let's block ads! (Why?)


August 23, 2020 at 08:36PM
https://ift.tt/2E9G9g5

'เรือดำน้ำ'หลายประเทศอาเซียนมี 'ไทย'ถึงจำเป็นแต่เศรษฐกิจไม่ดีควรซื้อหรือไม่? - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog

No comments:

Post a Comment