"ภูมิธรรม"ขอเป็นหนึ่งเสียงไม่ไว้วางใจ"บิ๊กตู่"บริหารประเทศต่อไป
วันที่ 09 ก.ย. 2563 เวลา 12:00 น.
ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯประกาศขอเป็นหนึ่งเสียงที่ไม่ไว้วางใจให้"บิ๊กตู่"เป็นนายกฯบริหารประเทศต่อไป อัดเป็นผู้นำที่ไร้ความสามารถทำการเมืองวิกฤติเศรษฐกิจล้มเหลวประเทศไม่มีอนาคต
เมื่อวันที่ 9 ก.ย.นายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรโพสต์เฟซบุ๊ก รัฐบาลไร้ความสามารถ การเมืองวิกฤติ เศรษฐกิจล้มเหลว ประเทศไม่มีอนาคต
...............
สถานการณ์ขณะนี้ กำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤติหลายด้าน ซึ่งเกิดจากความไร้เสถียรภาพและการไร้ความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นผู้นำการบริหารประเทศ ด้วยความไร้ประสิทธิภาพ ขาดองค์ความรู้ที่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ และที่สำคัญคือ ขาดความเข้าใจในปัญหาทุกข์ร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างถ่องแท้ ทำให้นโยบายการบริหารงานที่ผ่านมา มีลักษณะที่ขาดๆเกินๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างครบวงจร จนกลายเป็นความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงกันทั้งประเทศ
• การเมืองวิกฤติ
รัฐบาลปัจจุบัน มีต้นกำเนิดมาจากการรัฐประหารในปี 2557 ซึ่งสร้างกลไกในการสืบทอดอำนาจผ่าน “รัฐธรรมนูญ ที่สร้างขึ้นมา เพื่อพวกเรา” ได้สร้างปัญหามากมายตามมา และกำลังนำประเทศไปพบทางตัน ซึ่งใกล้จะถึงจุดระเบิดการที่นักเรียน นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ ออกมาเคลื่อนไหว ชุมนุมกันทั่วประเทศ เพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุบสภา และหยุดคุกคามประชาชนผู้เห็นต่าง คือภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงความอดทนที่สิ้นสุดของเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติ ซึ่งต้องดำเนินชีวิตอย่างไร้ความหวัง ภายใต้การบริหารของรัฐบาลปัจจุบันนอกจากนี้ ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เรายังได้เห็น…ความขัดแย้งภายในฝ่ายรัฐบาลกันเอง การแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรี ปัญหากลุ่มก๊วนในพรรครัฐบาล การต่อรองผลประโยชน์ รวมถึงล่าสุดการลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากการถูกกดดันของกลุ่มการเมืองจากขั้วอำนาจต่างๆ ในรัฐบาลสภาวะการเมืองเช่นนี้ นอกจากจะไม่อาจนำพาประเทศให้ข้ามพ้นปัญหาแล้ว ยังฉุดรั้งให้จมดิ่งลึกลงไป โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับปากท้องและความอยู่รอดของคนไทยทั้งปวง
• เศรษฐกิจล้มเหลวรัฐบาลที่ไร้ความสามารถชุดนี้ มีผลงานเชิงประจักษ์ชัดว่า…แก้ปัญหาเศรษฐกิจล้มเหลวต่อเนื่องมากว่า 6 ปี และส่งผลกระทบอย่างหนักหนาสาหัสต่อประชาชนทุกกลุ่มในวงกว้าง จนทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ ไร้ซึ่งความหวัง มองไม่เห็นอนาคต และที่สำคัญ หากรัฐบาลยังรับมือด้วยความไร้ศักยภาพ เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน…อนาคตของประเทศจะมีแต่ความมืดมนการแก้ปัญหาที่ผ่านมา…รัฐบาลทำได้แค่สร้างกรอบวงเงิน โดยที่เม็ดเงินจริง ไม่ได้ลงสู่ภาคเอกชนและประชาชนเลย เราจึงเห็นบริษัทล้มละลาย ปิดกิจการ มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก หนี้เสียพุ่ง ประชาชนอดอยาก ปัญหาเหล่านี้เกิดจากความผิดพลาด ที่ขาดการใส่ใจในรายละเอียดของรัฐบาลนอกจากนี้ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการไร้ความสามารถในการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศหยุดและสะดุดลง ซึ่งส่งผลอย่างรุนแรง ต่อกำลังซื้อของประชาชน และเมื่อการแก้ปัญหาของรัฐบาลยังคงวนเวียนอยู่กับมาตรการแจกเงิน เพื่อหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจไปเรื่อย?ๆ ปัญหาประเทศยิ่งมองไม่เห็นทางออกและอนาคตการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการแจกจ่ายเช่นที่รัฐบาลดำเนินการนี้ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและไม่ช่วยฉุดเศรษฐกิจขึ้นจากหุบเหวลึกได้ เพราะรัฐบาลเลือกจะทำแต่นโยบายการคลังแบบกระพี้ สร้างภาพ สร้างการตลาดไปวันๆ แต่แก่นของปัญหาคือ การสร้างงานและสร้างรายได้ให้ประชาชน ไม่ได้รับการสนใจและถูกแก้ไข
• ประเทศไม่มีอนาคตมาถึงวันนี้…รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่อาจหลีกเลี่ยงการเป็น ”รัฐบาลที่ล้มเหลว” เพราะเป็นรัฐบาลที่ปราศจากการยอมรับ และไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้คนในประเทศและนานาชาติได้ เป็นรัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความสามารถ เป็นรัฐบาลที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการบริหารประเทศ โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัด คือ วิกฤติด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านเสียง พลังคัดค้านของประชาชน ที่ดังอยู่รอบตัว ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศว่า "เป็นรัฐบาลที่ไม่อาจสร้างอนาคต ที่เป็นความหวังให้กับประเทศได้”
ในเมื่อเป็นรัฐบาลที่ก่อให้เกิดการเมืองที่วิกฤติ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็ล้มเหลว ดับความหวัง ดับอนาคตของประเทศแล้วยังจะกล้าดึงดันบริหารประเทศต่อไป ให้ประเทศล่มสลายไปมากกว่านี้อีกทำไม…ผมก็เป็นอีก 1 เสียง ที่ไม่อาจไว้วางใจให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำหน้าที่บริหารประเทศอีกต่อไป
September 09, 2020 at 12:07PM
https://ift.tt/35l7Uxs
"ภูมิธรรม"ขอเป็นหนึ่งเสียงไม่ไว้วางใจ"บิ๊กตู่"บริหารประเทศต่อไป - โพสต์ทูเดย์
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog
No comments:
Post a Comment