ฉะนั้น อย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจไป แต่ก็ยังต้องปฏิบัติตามแนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด
เหตุการณ์ลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับ ‘เวียดนาม’ และ ‘นิวซีแลนด์’ ที่มีการปรากฏของการติดเชื้อภายในประเทศอีกครั้งหนึ่ง หลังจากประสบความสำเร็จในการควบคุมโควิด-19 ไปเพียงไม่นาน
โดยเฉพาะ ‘นิวซีแลนด์’
ที่ถึงจุดสิ้นสุด...การปราศจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ภายในประเทศ ระยะเวลากว่า 102 วัน
หันกลับสู่วิถีการปูพรมค้นหา ‘ผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่’ กดปุ่มล็อกดาวน์ ‘โอ๊คแลนด์’ เมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เร่งติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดเพื่อสกัดการแพร่กระจายที่อาจลุกลามเป็นวงกว้างในอนาคต หลังพบสมาชิกครอบครัวหนึ่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ถึง 4 ราย
แต่ปัญหาคือ “ไม่ทราบแหล่งที่มา”
ดังนั้น นิวซีแลนด์ ยังจำเป็นต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ไปอย่างน้อยจนถึงกลางเดือน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาใน ‘โอ๊คแลนด์’ เมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หยุดชะงักลงแล้ว
ตลอดที่ผ่านมา 102 วัน สถานการณ์โควิด-19 ของ ‘นิวซีแลนด์’ คล้ายกับประเทศไทย คือ ไม่มีการติดเชื้อภายในชุมชน หรือภายในประเทศ มีเพียงแค่ผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่กักกันตัวที่เดินทางเข้ามาในประเทศเท่านั้น
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ก็ออกมาเรียกความเชื่อมั่นกับประชาชนว่า “ไม่มีประเทศไหนในโลกที่ปราศจากการติดเชื้อภายในประเทศได้ยาวนานเท่ากับนิวซีแลนด์ เราเคยผ่านมันมาได้ เราก็จะสามารถผ่านไปได้อีกครั้ง”
ปัจจุบัน ‘นิวซีแลนด์’ มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สะสม 1,700 ราย และเสียชีวิตกว่า 20 ราย
กลับมาที่ประเทศไทย
การฟื้นกลับมาของการติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศ อาจทำให้แผนการกลับมาเปิดชายหาดอันโด่งดังและแหล่งวัฒนธรรมต้องหยุดชะงัก ซึ่งตอนแรกหวังว่าจะเปิดรับผู้เยี่ยมเยือนต่างชาติในเดือนตุลาคม ที่ตอนนี้ยังคงปิดพรมแดนรับผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติอยู่ และคนที่จะเข้าประเทศเกือบทั้งหมดก็ต้องเข้าสู่สถานที่กักกันตัวที่รัฐมีการควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวก หรือโรงแรม เป็นเวลา 14 วัน
ก็ต้องยอมรับว่า ความสำเร็จของ ‘ประเทศไทย’ ในการควบคุมโควิด-19 ที่เป็นผลมาจากการบังคับใช้นโยบายที่เคร่งครัดจากการปิดพรมแดนรับชาวต่างชาตินานหลายเดือน ต้องแลกมาด้วย ‘ต้นทุน’ ที่ยอดเยี่ยมของประเทศ ทั้งชายหาดที่โด่งดังและสถานที่ทางวัฒนธรรม จนทำให้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก
หากจะอธิบายสถานะประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ก็ต้องเรียกว่า หวานอมขมกลืน ทั้งการกลับมาของการติดเชื้อภายในประเทศ และแรงกดดันจากกลุ่มธุรกิจที่หวังกลับมาเปิดพรมแดนอีกครั้งเพื่อรักษาแผลภาคการท่องเที่ยวที่เจ็บออดๆ แอดๆ จากโควิด-19 ซึ่งแต่เดิมเคยมีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจไทยสูงถึง 20% โดยก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะเปิดรับนักท่องเที่ยวจากซีกโลกทางเหนือก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว แม้จะยังไม่มีรายละเอียดแน่ชัดถึงวิธีการที่จะทำอย่างไรให้มีความปลอดภัยก็ตาม
เรียกได้ว่า นี่เป็น ‘ด่านหิน’ ที่สุดที่รัฐบาลทั่วโลกจะต้องพบเจอเลยก็ได้ กับการพยายามทำให้ ‘สาธารณสุข’ และ ‘เศรษฐกิจ’ รอดไปได้อย่างสมดุล
หากไปมองประเทศใหญ่ๆ อย่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 6 ล้านราย หรือ ‘อินเดีย’ ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 3 ล้านราย และได้มีการประกาศชัตดาวน์อย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อช่วงต้นปี ก็ต้องเผชิญกับผลร้ายทางเศรษฐกิจที่ตามมา คือ กำลังกลายเป็น ‘หมี’ หรือตลาดช่วงขาลง จนต้องพยายามหาหนทางที่จะกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสจะยังรุนแรงอยู่ก็ตาม
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะมีการกระตุ้นให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวและใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยการสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ โดยปี 2562 ประเทศไทยมีผู้เยี่ยมเยือนต่างชาติเกือบ 40 ล้านคน แต่พอมาปีนี้กลับมีเพียง 7 ล้านคนเท่านั้น
ยังไงก็แล้วแต่...‘ไทยเที่ยวไทย’ ก็เป็นหนทางที่พอจะช่วยเยียวยาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้บ้าง แม้จะเล็กน้อย แต่การออกไปจับจ่ายก็จะช่วยพยุงให้ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยืนอยู่ได้.
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
ข่าวน่าสนใจ:
September 05, 2020 at 05:30AM
https://ift.tt/3h2pHLK
"โควิด-19" แฝงในฝูงชน ถึงจุดสิ้นสุด 100 วันไร้ผู้ป่วยในประเทศ (คลิป) - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog
No comments:
Post a Comment