เหล็กล้นประเทศ! ผู้ผลิตขาดทุนยับร้อง สมอ. หยุดออกใบอนุญาตนำเข้าเหล็กเส้น 5 ปี
นายอิทธิพล เดี่ยววณิชย์ ตัวแทนสมาคมผู้ผลิตเหล็กทรงยาวด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตรวมประมาณ 60 ราย เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือถึง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เพื่อขอให้พิจารณางดเว้นการออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต โดยขอให้พิจารณาชะลอการออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตเส้นกลม (มอก. 20-2559) และข้ออ้อย (มอก. 24-2559) เป็นระยะเวลา 5 ปี
เนื่องจากกำลังการผลิตของประเทศในปัจจุบัน ยังสูงกว่าความต้องการมาก และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็ก สำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตทุกขนาดทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ที่มีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 10 มกราคม 2563
“กำลังการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตในประเทศ สูงกว่าความต้องการใช้จริงในตลาดค่อนข้างมาก โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวมที่ 10 ล้านตันต่อปี แต่มีความต้องการของตลาดแค่เพียง 4 ล้านตันต่อปี จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถใช้กำลังการผลิต ที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ปรับเพิ่มขึ้นในระดับสูงและไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าเหล็กนำเข้าได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องประสบปัญหาภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง”
ขณะเดียวกันสมาคมฯ ก็ขอให้มีการตรวจสอบและติดตามโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร สำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ในระดับที่เข้มงวดมากกว่าการตรวจติดตามโรงงานในประเทศ โดยให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกับประเทศอื่น เช่น ประเทศมาเลเซีย ที่มีระบบการตรวจติดตามทุก 1 ปี เพราะสินค้าเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นสินค้าพื้นฐานหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ประชาชนผู้ใช้งานไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยต่อสาธารณะโดยตรง
นอกจากนี้ ยังขอให้กำหนดเงื่อนไขอายุใบอนุญาตการนำเข้า เวลาของใบอนุญาตนำเข้า ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับการดำเนินการของประเทศอื่น เช่น ประเทศมาเลเซียและออสเตรเลีย กำหนดอายุใบอนุญาตนำเข้า 1 ปี ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค
August 06, 2020 at 03:57PM
https://ift.tt/2DE5C0m
เหล็กล้นประเทศ! ผู้ผลิตขาดทุนยับ ร้อง สมอ. หยุดออกใบอนุญาต 5 ปี - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog
No comments:
Post a Comment