Pages

Friday, June 5, 2020

สแกนดิเนเวีย คืออะไร อยู่ที่ไหน มีประเทศอะไรบ้าง ไปเที่ยวช่วงไหนดี ? - True ID - Travel

selasartari.blogspot.com

     นักเดินทางหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินกิตติศัพท์ของประเทศในแถบ สแกนดิเนเวีย กันเป็นอย่างดีใช่ไหมล่ะครับ ไม่ว่าจะเรื่องระบบการศึกษา สวัสดิการ รายได้ต่อประชากร ความสุขภายในประเทศ ฯลฯ ที่พอมีทำโพลออกมาทีไรประเทศในกลุ่มนี้จะอยู่หัวแถวทุกทีไป ใครที่กำลังสงสัยว่า แล้วประเทศกลุ่มนี้นี่มีอยู่กี่ประเทศ และอยู่ตรงส่วนไหนของโลกกันบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลยครับ

สแกนดิเนเวีย คืออะไร ?

     สแกนดิเนเวีย นั้นเป็นชื่อของภูมิภาคที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของทวีปยุโรปในแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ครับ ซึ่งอาณาเขตหลักๆ จะครอบคลุมประเทศสวีเดน และนอร์เวย์ซะเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ยังรวมถึงเดนมาร์กที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ด้วย เพราะประเทศในภูมิภาคนี้มีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้านมาก ทั้งเรื่องเชื้อชาติ วัฒนธรรม และภาษา ที่แม้จะพูดกันคนละภาษาแต่ด้วยความใกล้เคียงจึงพอสื่อสารกันรู้เรื่อง

     คำที่เราใช้เรียกคนแถวนี้ว่า ชาวสแกนดิเนเวียน จริงๆ แล้วเป็นคำที่เพิ่งใช้กันไม่กี่ร้อยปีมานี้เองครับ ถ้าในสมัยก่อนนั้นก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานปรากฎได้ว่าเขาเรียกตัวเองว่าอะไร แม้แต่คำว่า "ไวกิ้ง" อีกคำที่ใช้เรียกบรรพบุรุษของผู้คนในแถบนี้ เอาจริงๆ นักประวัติศาสตร์ก็ยังถกเถียงกันอยู่เนืองๆ ว่ามาจากไหน แต่คำที่ชัวร์ที่สุดเห็นจะเป็นคำว่า “นอร์มังส์” (Normans) ที่ชาวแฟรงค์ หรือชาวฝรั่งเศสยุคโบราณใช้เรียกผู้คนที่เดินเรือมาจากทางเหนือ (สแกนดิเนเวีย) และใช่ครับ หลังจากนั้นชาวเหนือกลุ่มนี้ก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบที่เรียกว่า “นอร์มังดี” (Normandy) ของฝรั่งเศสนั่นเอง

     ปัจจุบัน กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ทั้งสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเหมือนกัน ราชวงศ์ทั้ง 3 ประเทศมีความใกล้ชิดเป็นเครือญาติกัน มีกฎหมายว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เหมือนกัน จะเห็นได้ชัดเลยว่าประเทศแถบนี้ มีความใกล้ชิดกลมเกลียวกันอย่างมาก

     และหลายครั้งที่พอเอ่ยถึงสแกนดิเนเวีย ก็จะมีอีก 2 ประเทศที่บ่อยครั้งมักจะถูกรวมเข้ามาด้วย แม้ว่าหากมองทางด้านภูมิศาสตร์ แล้วอาจจะดูห่างจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวียไปบ้าง นั่นก็คือ

  • ไอซ์แลนด์ ไม่ได้มีอาณาเขตประเทศติดกับ 3 ประเทศข้างต้นเลย แต่เพราะเคยตกเป็นของนอร์เวย์ และเดนมาร์กมาก่อน เพิ่งได้รับเอกราชไปเมื่อ ค.ศ. 1918 นี่เองครับ
  • ฟินแลนด์ เป็นประเทศที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มสแกนดิเนเวียกับรัสเซีย เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 - 19

     หากรวมเอาไอซ์แลนด์ และฟินแลนด์เข้าไปด้วย จึงมักเรียกกันว่ากลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) เสียมากกว่าครับ

เที่ยวสแกนดิเนเวียช่วงไหนดี ?

     แน่นอนว่าคนที่ตั้งใจไปเที่ยวประเทศแถบนี้ มักจะมีเป้าหมายลำดับแรกเป็นการได้ไปล่า แสงเหนือ ให้เห็นด้วยตาตัวเองอยู่แล้ว แต่ความจริงแล้วก็มีอะไรให้ทำอยู่ทุกฤดูนั่นแหละครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะลองไปสัมผัสบรรยากาศแบบไหน ทำกิจกรรมอะไรเป็นหลัก โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู ดังนี้ครับ

ฤดูหนาว (ธันวาคม – มีนาคม)

     ฤดูหนาวจะเป็นอะไรที่ค่อนข้างเงียบเหงายาวนานสำหรับคนที่นี่ครับ เพราะความที่มีหิมะตก อากาศหนาวเย็วสุดขั้วหัวใจ ใครจะอยากออกไปนอกบ้านกันล่ะจริงไหม แต่! ชาวเมืองร้อนอย่างเรานี่เป็นโอกาสดีที่จะได้เล่นกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับหิมะ เช่น นั่งสกีลากเลื่อน เล่นสโนว์บอร์ด และที่สำคัญอย่างการล่าแสงเหนือนั่นเอง เอาจริงๆ แสงเหนือมันก็มีทั้งปีแหละครับ แต่การล่าแสงเหนือที่ดีควรไปในช่วงที่มีกลางคึนยาวนานกว่ากลางวัน ก็คือช่วงนี้นี่เอง ที่วันหนึ่งจะมืดไป 20 ชั่วโมง มีโอกาสได้เจอมากขึ้น แต่อย่าลืมนะครับว่าถ้าวันนั้นไม่มีแสงเหนือ คุณก็ต้องนอนหงอยยาวๆ ไปเลย เพราะทั้งวันจะสว่างอยู่แค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้นเอง

ฤดูใบไม้ผลิ (เมษายน- มิถุนายน)

     ช่วงนี้จะเหมาะกับใครที่ชอบความเขียวชอุ่ม นั่งรถกินลมชมวิวดูใบไม้ผลิสองข้างทาง

ฤดูร้อน (มิถุนายน – สิงหาคม)

     สำหรับชาวเมืองร้อนจากแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างเรา หน้าร้อนที่นี่เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่รื่นรมย์มาก ทั้งอากาศดีเย็นสบาย ผู้คนคึกคัก ที่เที่ยวเปิดอย่างคับคั่งผู้ ผู้คนตื่นตัวสนุกสนาน แถมพระอาทิตย์ยังขึ้นนานที่สุดด้วย จนบางวันอาจรู้สึกสว่างทั้งวัน เที่ยวเพลินลืมหลับลืมนอนเลยทีเดียว

ฤดูใบไม้ร่วง (ตุลาคม – พฤศจิกายน)

     ช่วงนี้จะคล้ายๆ กับช่วงฤดูใบไม้ผลิครับ คือบรรยากาศจะสวยมากๆ ถ่ายรูปดีมีใบไม้เปลี่ยนสี อากาศเย็นกำลังดี

อ้างอิง :

===============

Let's block ads! (Why?)


June 05, 2020 at 04:13PM
https://ift.tt/3cA3xhT

สแกนดิเนเวีย คืออะไร อยู่ที่ไหน มีประเทศอะไรบ้าง ไปเที่ยวช่วงไหนดี ? - True ID - Travel
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog

No comments:

Post a Comment