พาสปอร์ตสุขภาพ นวัตกรรมใหม่ เพื่อการเดินทางข้ามประเทศอย่างปลอดภัย หนึ่งในปัจจัยสำคัญ ของการทำ Travel Bubble ป้องกันระบาดรอบใหม่
จากนโยบายการเปิด Travel Bubble เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศ ที่สามารถจัดการโควิด – 19 ได้ดี หนึ่งในข้อกังวลที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือ ต้องไม่ให้เกิดการระบาดรอบใหม่ จากการเปิดประเทศ ซึ่ง พาสปอร์ตสุขภาพ หรือ DHP จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการป้องกัน
หนังสือเดินทางสุขภาพ หรือ พาสปอร์ตสุขภาพ (Digital Helth Passport Application : DHP) เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้สำหรับตรวจสุขภาพผู้เดินทาง โดยจะทำหน้าที่ ดังนี้
- บันทึกข้อมูลสุขภาพ
- ช่วยในการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง
- แจ้งระดับความเสี่ยง ยืนยันควมปลดภัยของผู้เดินทาง ออกมาเป็นสี เช่น สีเขียว-ปกติ, สีเหลือง-ความเสี่ยงน้อย, สีส้ม-ความเสี่ยงปานกลาง และสีแดง-ความเสี่ยงสูง
- เสริมสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
- ไม่ละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้ หนังสือเดินทางสุขภาพ จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง ในการเปิดประเทศ ที่ไทยจะเริ่มต้นด้วยการทำ Travel Bubble เนื่องจากผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 และยืนยันแล้วว่า มีผลการทดสอบโรคโควิด – 19 เป็นลบ พาสปอร์ตสุขภาพ จึงเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่รับรองสถานะสุขภาพของบุคคลว่า ปลอดโควิด – 19
วิธีการเบื้องต้นในการใช้ หนังสือเดินทางสุขภาพ ก่อนเข้าประเทศ ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ที่มีข้อมูลการตรวจสุขภาพ หรือ หนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศ และใบรับรองแพทย์ โดยเฉพาะการตรวจเชื้อโควิด – 19 หลังจากลงทะเบียนออนไลน์แล้ว ต้องจอง Test on Arrival และซื้อประกันโควิด-19
จากนั้น ในระหว่างการเดินทาง ต้องแสดงเอกสารได้แก่ ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองจากหน่วยงานไทย, สแกน คิวอาร์โค้ด เพื่อยืนยันข้อมูลสุขภาพ และรับการตรวจบนเครื่อง (Test on Arrival) เช่นการวัดอุณหภูมิ รวมทั้งยินยอมให้สามารถติดต่อได้ กรณีมีความเสี่ยง หรือพบการติดเชื้อ
ดังนั้น สรุปง่ายๆ ก็คือ หนังสือเดินทางสุขภาพ จะเป็นเครื่องบันทึกข้อมูลของนักเดินทาง ในด้านสุขภาพ ที่เน้นไวรัสโควิด – 19 และสามารถติดตามได้กรณีตรวจพบเชื้อ หรือพบความเสี่ยงที่จะติดเชื้อภายหลัง เช่น จากประเทศที่มา หรือบนเครื่องบินที่โดยสารมา เป็นต้น
ปัจจุบัน มีรัฐบาลหลายประเทศ อยู่ระหว่างการเตรียมนำ หนังสือเดินทางสุขภาพ มาใช้ เพื่อพลิกฟื้นการเดินทาง และการท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น
- ทางการของประเทศกรีซ อาจเปิดพรมแดนให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาด้วยพาสปอร์ตสุขภาพ โดยนักท่องเที่ยวจะต้องแสดงเอกสารบนสมาร์ทโฟน ก่อนขึ้นเครื่องบิน หรือเรือโดยสาร และจะถูกตรวจวัดอุณหภูมิเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
- แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะซาร์เดญญา, เกาะคาปรี, เกาะอิสเคีย ในประเทศอิตาลี และหมู่เกาะแบลีแอริก ในประเทศสเปน อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทาง การนำพาสปอร์ตสุขภาพ มาใช้
- รัฐบาลประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร กำลังพิจารณามาตรการยกเลิกการปิดเมือง ควบคู่ไปกับการหารือ ร่วมกับนักวิจัยและบริษัทเทคโนโลยี ถึงความเป็นไปได้ ในการพัฒนาพาสปอร์ตสุขภาพ ที่จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าประเทศได้อย่างอิสระ
อย่างไรก็ตาม การนำพาสปอร์ตสุขภาพมาใช้ ยังมีข้อถกเถียง และข้อกังวล ถึงประสิทธิภาพ ของการตรวจสอบโรค โดยเฉพาะ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ที่ออกมาแสดงความเห็นว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่า ผู้ป่วยสามารถพัฒนาแอนติบอดี ที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัส ครั้งที่สอง หลังจากเข้ารับการรักษาโรคโควิด 19 จนหายดี
ดังนั้น WHO จึงมองว่า ยังไม่มีหลักฐานที่มากพอ เกี่ยวกับประสิทธิภาพทางทฤษฎี ของภูมิคุ้มกันแอนติบอดี ที่จะรับรองความถูกต้องแม่นยำของ หนังสือเดินทางสุขภาพ ขณะที่ประชาชน เข้าใจเอาเองว่า ตัวเองมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งที่สอง ทำให้อาจละเลยต่อคำแนะนำทางสาธารณสุข
WHO จึงเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยมากขึ้น ก่อนที่จะนำพาสปอร์ตสุขภาพมาใช้ได้จริง ซึ่งแนวทางของการตรวจสุขภาพนี้ ควรใช้เป็นบรรทัดฐานเมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend FollowJune 23, 2020 at 07:01AM
https://ift.tt/37TRqvk
พาสปอร์ตสุขภาพ 'DHP' ตัวช่วยเปิดประเทศปลอดภัย ยุค Travel Bubble - thebangkokinsight.com
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog
No comments:
Post a Comment