Pages

Sunday, June 28, 2020

แก้ไขก่อนวิกฤติ การเมืองวิถีใหม่ท้าทายอนาคตประเทศ - ไทยรัฐ

selasartari.blogspot.com

ไม่ใช่เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ เกือบทุกพรรคมีการเคลื่อนไหววุ่นวาย ทำให้มีความรู้สึกว่าทำไมในภาวะบ้านเมืองแบบนี้ไม่รวมพลังแก้วิกฤติ

ทุกคนรู้ปัญหาเศรษฐกิจในอนาคตหนัก

แต่โครงการฟื้นฟูต่างๆเสนอเข้ามาเพื่อใช้งบประมาณตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ไส้ในแต่ละโครงการถูกวิจารณ์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ท่ามกลางหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นใกล้กรอบเพดานวินัยการเงินการคลัง กำหนดไม่ให้เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) นายอภิสิทธิ์บอกว่า การป้องกันการแพร่ระบาดทำสำเร็จในช่วงแรก

สิ่งที่ขาดไปไม่ได้มียุทธศาสตร์นำ ทั้งไม่มีการสื่อสารให้ประชาชนเห็นภาพการฟันฝ่าวิกฤติในช่วงที่ผ่านมา ในช่วงที่เผชิญอยู่ และที่กำลังก้าวต่อไปในทิศทางใด อย่างไร

ความไม่แน่นอนของวิกฤตินี้ยังมีอยู่สูงมาก

มาตรการต่างๆที่ออกมาหยุดการแพร่ระบาด วัตถุประสงค์หลักเพื่อรอวัคซีน เร็วสุดก็ปี 64 อย่าคิดว่าคิดค้นสำเร็จแล้วแก้ได้ เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าใครมีกำลังการผลิต ผลิตออกมาแล้วจัดสรรให้ใคร ราคาเท่าไหร่ ลำดับความสำคัญคืออะไร ตัวเลขความต้องการวัคซีนต่ำสุดร้อยละ 40 ของประชากรโลก เพื่อให้ทุกคนมั่นใจ ท่ามกลางเชื้อโควิดวิ่งไปรอบโลก อาจวนกลับมารอบสอง

จำเป็นต้องสื่อสารเป็นระยะต่อสังคมตลอดเวลา ถึงเหตุผลผ่อนคลายแบบนี้บนเงื่อนไขอะไรบ้าง เพื่อให้เศรษฐกิจและชีวิตคนต้องเดินต่อ แต่มันมีความเสี่ยง

การเยียวยาในช่วงแรกก็พยายามบอกให้ยึดหลักให้ทุกคน เร็ว ขั้นตอนไม่ต้องมีมาก เพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ยกเว้นคนที่ไม่จำเป็น สุดท้ายขบวนการเยียวยายืดเยื้อ สับสน งบประมาณ 4 แสนล้านบาทก็เช่นกัน มองไม่ค่อยออกทำไมไม่อยู่ในงบประมาณปกติ และเก็บเงินก้อนนี้ไว้ยามจำเป็นต้องเยียวยาในรูปแบบอื่นเพิ่มเติม

ยกตัวอย่าง สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับเอสเอ็มอี เชื่อไม่ถึงผู้ประกอบการจำนวนมากที่ต้องการ รวมถึงหลายผู้ประกอบการ อาจไม่จำเป็นได้รับการช่วยเหลือแบบนี้ แต่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ หรือซื้อหนี้ออกไปเพื่อบริหารจัดการให้ผ่านช่วงนี้ไป ก็ต้องเตรียมงบประมาณไว้อีกส่วนสำหรับตรงนี้เป็นต้น

ยังไม่นับรวมการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ การต่างประเทศที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ความไม่เป็นมิตรระหว่างประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกาที่รุนแรงขึ้น แต่ละประเทศเจอแรงกดดันภายในประเทศของตัวเอง

ฉะนั้น ถ้ามีความจำเป็นควรสื่อสารถึงประชาชนตรงๆว่าจะขยับเพดานหนี้สาธารณะได้หรือไม่ ถ้าขยับไปสู่จุดนี้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลยคือ การใช้เงินแบบเหลวไหล

และควรกำหนดยุทธศาสตร์บริหารสถานการณ์ภาพรวมให้ชัด ไม่รู้ต้องรอการปรับ ครม.ชุดใหม่หรือไม่ ควรทำให้ชัดถ้าต้องการปรับทัพใหม่ ถ้าไม่ปรับทัพใหม่ก็ยืนยันไปว่าไม่ปรับ ครม.

เพื่อช่วยลดความสับสนและความไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล

นายกฯต้องยันในความเป็นผู้นำเพื่อให้ผ่านตรงนี้ไป

ฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์ทับซ้อน ฐานเสียงพรรคพลังประชารัฐ ควรทำอย่างไรถูกฉีกแยกฐานเสียงออกจากกัน นายอภิสิทธิ์ บอกว่า ขึ้นอยู่กับพรรคกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ทางการเมือง

“ผมทำการเมืองอาจมีแนวทางไม่เหมือนกับหลายๆคน ผมฉีกตรงนั้นออกมา เพราะต้องการย้ำสิ่งที่เชื่อว่าเป็นจุดยืนและอุดมการณ์ประชาธิปัตย์ ทราบว่ามีความเสี่ยง ทำให้ผู้สนับสนุนบางส่วนไม่พอใจ

ผมมองว่าไม่ใช่เป็นแค่จุดยืนและอุดมการณ์ แต่เป็นการเสนอทางออกให้ประเทศ”

ผ่านมาปีกว่าการเมืองจมอยู่ในสภาพแบบนั้น

เพราะผลการเลือกตั้งไม่ได้ฉีกออกนอกกรอบยังเป็น 2 ขั้วค่อนข้างแรง

ขั้วที่ไม่มีอำนาจรอจังหวะเคลื่อนไหวนอกสภาฯ โดยมีเงื่อนไขทั้งรัฐธรรมนูญ การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ

คดีความต่างๆไล่เรียงมาถึงการตีความ ทำให้การตรวจสอบฝ่ายที่มีอำนาจไม่เกิดขึ้นในระนาบเดียวกัน

ขณะที่ฝ่ายมีอำนาจมีความไม่กลมกลืน ระหว่างผู้นำที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง ระบบพรรคการเมืองอย่างเต็มตัว กับการพึ่งพานักการเมืองซึ่งสร้างกลุ่มต่อรอง

ทำให้เราเผชิญสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ดูเป็นการเมืองเก่า การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาไม่สามารถทำให้ตรงกับสิ่งที่คนมองเป็นความท้าทายใหญ่ของประเทศและโลก โชคดีระงับการแพร่ระบาดโควิดได้

ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจตามมา กระบวนการเยียวยามีปัญหาเยอะมาก เมื่อวิกฤติคลี่คลายปัญหาการเมืองที่สะสมก็ย้อนเข้ามาใหม่ ทั้งการปรับ ครม.ที่หลายคนรอลุ้น เสียงเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ขยายเวลาศึกษาออกไป

การเมืองเก่า ความคิดเก่า ประเทศเจอโจทย์ใหม่จะทำอย่างไร นายอภิสิทธิ์ บอกว่า ปัญหาเศรษฐกิจก่อนโควิดก็หนัก เติบโตช้ากว่าประเทศในภูมิภาค

ปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างสะสมมาจนถึงจุดที่ต้องปรับวิธีที่คิดการบริหารเศรษฐกิจ

ปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น ไปเติมปัญหาขัดแย้งทางการเมืองและสังคมมากขึ้น

ก่อให้มีม็อบการเมืองเคลื่อนไหวอย่างไร นายอภิสิทธิ์ บอกว่า มีคนที่มองถึงความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และไม่คาดหวังกระบวนการในระบบสภาฯตอนนี้ เพียงแต่คนส่วนหนึ่งล้ากับการเมืองบนท้องถนน

คนรุ่นใหม่อาจมองการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ไม่เหมือนเดิม สร้างกระแสในโลกเสมือนจริง นำไปสู่อะไรทางกายภาพ ยังมองไม่ออก ในต่างประเทศก็เห็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย

ฉะนั้น สิ่งที่ไม่ให้ลามไปสู่จุดนี้ก็ต่อเมื่อผู้มีอำนาจมองเห็น เข้าใจ ยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้

ตัวอย่างง่ายที่สุดคือ รัฐธรรมนูญนอกจากต้องแก้ไขที่สาระแล้ว ยังทำให้การแก้ไขยาก ถ้าผู้มีอำนาจไม่เอาด้วยไม่มีทางแก้ได้ ยิ่งเป็นตัวท้าทายมากถ้าผู้มีอำนาจถูกมองว่าไม่ยอมแก้ไข เพราะตัวเองได้ประโยชน์ ย่อมสะท้อนความรุนแรงของปัญหามากยิ่งขึ้น

อีกด้านหนึ่งมีตัวกดการเคลื่อนไหวนอกสภาฯอยู่ คือ มุมหนึ่งมีคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงก้าวหน้า แต่กลัววาระสุดโต่งแอบแฝงเข้ามา

ขณะที่ฝ่ายผู้มีอำนาจยังสามารถใช้กระแสความกลัว ความเกลียดชังเป็นตัวต้านหรือกดทับเขาอยู่

แล้วเมื่อไหร่ประเทศถึงพ้นจากการเมืองแห่งความเกลียดชังและความกลัว มาเป็นการก่อสิ่งใหม่ ดูจากสภาพการเมืองยังไม่หลุดและอยู่ในวังวนนี้

ฉะนั้น ฝ่ายที่มีอำนาจต้องพยายามเอื้อมมือไปหากลุ่มต่อต้าน คัดค้าน เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน

และนายกฯบริหารประเทศด้วยวิถีใหม่ โดยพิสูจน์ด้วยการกระทำ ทำให้การเมือง 2 ขั้วจับต้องได้.

ทีมการเมือง

Let's block ads! (Why?)


June 29, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/31CeUUP

แก้ไขก่อนวิกฤติ การเมืองวิถีใหม่ท้าทายอนาคตประเทศ - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3e2ph87
Home To Blog

No comments:

Post a Comment